นอกจากรูปทรงที่ส่งบุคลิกให้ดูเก๋ไก๋เข้ายุคเข้าสมัยแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ช่วยป้องกันการปะทะสารพัดรูปแบบ ทั้งกันฝุ่น กันลม กันเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยกระจายแสงลดความจ้าของแสงแดด แสงสว่างที่เข้ามากระทบดวงตาได้ด้วย

เรื่องนี้สำคัญเพราะความจ้า ความสว่างจากแสงแดด นี้เจ้าตัวร้ายที่เรียกว่ายูวี หรือรังสีอัลตราไวโอเลต

จะแฝงตัวเข้ามาทำร้ายดวงตาจนอาจทำให้เกิดโรคตาต่างๆ อาทิ ต้อลม ต้อเนื้อ เป็นต้น

ปัญหาก็คือ เราจะรู้หรือเลือกได้อย่างไรว่า แว่นตาที่วางขายอยู่ในปัจจุบันจะช่วยป้องกันอะไรได้บ้าง หรือถ้าป้องกันจะต้องป้องกันอะไร ขนาดไหน ?

พ.ญ.ยุพิน ลีละชัยกุล จักษุแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า “ไม่ ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่มีแดดจ้า หรือมีเมฆหมอกปกคลุมแว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานนั้นจะต้องกรองรังสียูวีบี (UVB) รังสีที่อยู่ในความถี่ 280-315 นาโนเมตรได้ และต้องป้องกันปริมาณรังสียูวีเอ (UVA) ที่อยู่ในย่านความถี่ 100-280 นาโนเมตรได้”

ส่วนเลนส์ที่นำมาใช้เป็นแว่นกันแดดนั้น ในปัจจุบันที่นิยมมีอยู่ 3 ชนิด นั่นคือ เลนส์แก้ว (glass) ที่จะมีความใสและทนการขูดขีดมากกว่าเลนส์พลาสติก แต่จะหนักและแตกได้ด้วย เลนส์พลาสติก (CR 39 plastic) ที่แพร่หลายที่สุดตอนนี้ทำจากวัสดุ CR-39 สามารถทนแรงขูดขีดได้ดี ช่วยกรองรังสียูวีและอินฟราเรดได้ดี และ เลนส์พลาสติกชนิด โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate plastic) เลนส์ชนิดนี้จะมีน้ำหนักเบาที่สุด ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีมาก