เพราะหากละเลยข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็อาจเป็นเหมือนการเปิดประตูต้อนรับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ  ที่มองไม่เห็นอย่าง “อะแคนทะมีบา” เข้ามารุกรานและทำอันตรายต่อดวงตา เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อะแคนทะมีบา เป็นโปรตัวซัวแบบเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำและดิน มีช่วงชีวิต 2 แบบ คือ
 
1. แบบ “ซีสต์” มีขนาด 10-25 ไมครอน  เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพียงแต่จะฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ
 
2. แบบ  “โทรโฟซอยต์” ที่เคลื่อนไหว มีขนาด 15-45 ไมครอน จะเปลี่ยนรูปร่างจาก “ซีสต์” มีฤทธิ์ทำลายดวงตา
 
อย่างไรก็ตาม เชื้ออะแคนทะมีบา ทั้ง 2 แบบ สามารถทนทานอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เช่น หนาวจัด ร้อนจัด แห้งแล้ง ขาดอาหาร สระว่ายน้ำที่ใส่คลอรีน หรือแม้แต่บ่อน้ำร้อน